Tag: เรียนภาษา
-
Adverbs of frequency (กริยาวิเศษณ์บอกความถี่)
ในภาษาอังกฤษมีการใช้สิ่งที่เรียกว่า Adverbs of frequency (กริยาวิเศษณ์บอกความถี่) เพื่อบอกความบ่อยครั้งในการเกิดเหตุการณ์หรือความถี่ในสิ่งที่เราทำ ปกติแล้วกริยาวิเศษณ์บอกความถี่จะใช้คู่กับประโยคแบบ Present simple tense (รูปกาลปัจจุบัน) เพราะประโยคแบบนี้มักจะใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นกิจวัตรนั่นเอง คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ที่ใช้กันอยู่ประจำจะมีอยู่ประมาณ 9-10 คำตามตารางที่จะแสดงด้านล่าง ซึ่งก็เป็นคำศัพท์ที่เราอาจจะพบเห็นได้บ่อย ๆ ตามข้อความภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่ในเพลงก็มีใช้กันอยู่ทั่วไป ตารางนี้จะเรียงลำดับคำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ตามลำดับความถี่มากที่สุดไปหาน้อยที่สุด โดยจะเปรียบเทียบคร่าว ๆ เป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์เพื่อให้เข้าใจง่าย คำกริยาวิเศษณ์บอกความถี่ ระดับความถี่ ตัวอย่างประโยค always (เสมอ) 100% He always goes to cinema. (เขาชอบไปโรงหนังเสมอ ๆ) usually (เป็นประจำ) 90% I usually work at night. (ฉันทำงานตอนกลางคืนเป็นประจำ)…
-
แนะนำภาษาจีน
หนี่ห่าว ^^ 《你好》 เรามาเรียนภาษาจีนกันเถอะ จะดีแค่ไหนถ้าคุณสามารถไปเที่ยวจีนหรือไต้หวันด้วยการเป็นไกด์ให้ตัวเอง ได้โชว์ทักษะการต่อราคาขั้นเทพให้อาเฮียอาเจ้ได้ตกตะลึง และถ้าคุณเป็นขาช็อปแล้วละก็ ภาษาจีนจะช่วยให้คุณได้สรรหาของดีราคาถูกของจากเว็บช็อปปิ้งออนไลน์อันโด่งดังของจีนได้ด้วยตัวเอง และอาจต่อยอดไปถึงการ Pre-Order รับของมาขายได้เลย ปัจจุบันภาษาจีน มีผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 1.3 พันล้านคน ถือเป็นอันดับหนึ่งของภาษาที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ถ้าคุณคิดจะเรียนภาษาที่สามละก็ ภาษาจีนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมากเลยล่ะ เรามาทำความรู้จักกับหลักภาษาจีนทั่วๆไปก่อน ขั้นแรกต้องลบภาพที่อาเฮียอาเจ้พูดดังๆ รัวๆ เสียงแหลมๆ เหมือนเตรียมพร้อมที่จะทะเลาะกันอยู่ตลอดเวลา ภาษาจีนไม่ได้น่ากลัวแบบนั้น ถ้าพูดด้วยน้ำเสียงสุภาพ ไม่รีบร้อน ภาษาจีนก็เป็นภาษาที่น่าฟังภาษาหนึ่งเลยทีเดียว ความจริงแล้วภาษาจีนมีหลักไวยากรณ์หลายอย่างที่คล้ายกับภาษาไทย ตัวอย่างเช่น โครงสร้างประโยคบอกเล่าที่ประกอบด้วย ประธาน+กริยา+กรรม เช่น 《ฉันกินข้าว》 = 《我吃饭》 (หว่อฉือฟั่น) 《เขามาแล้ว》 = 《他来了》 (ทาหลายเล่อะ) ถ้าจะสร้างเป็นประโยคปฏิเสธก็แค่เติมคำว่า 《ไม่》《不》(ปู้)เข้าไปหน้ากริยา เช่น 《ไม่กิน》 《不吃》(ปู้ฉือ) | 《ไม่มา》《不来》 (ปู้หลาย) ประธาน กริยา (บทกรรม) ฉัน |我 (หว่อ) กิน…
-
หลักการใช้อักษรพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษในยุคปัจจุบันประกอบด้วยตัวอักษรทั้งหมด 26 ตัวในระบบที่เราเรียกว่า English alphabet ซึ่งทุกคนคงน่าจะคุ้นเคยกันดีและพบเห็นได้บ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันเพราะภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษาสากลอันดับต้น ๆ ของโลก แม้ว่าภาษาอังกฤษจะมีตัวอักษรง่าย ๆ เพียง 26 ตัว แต่ว่าตัวอักษรเหล่านี้ยังมีการแบ่งออกเป็นตัวเล็ก/ตัวใหญ่ หรือที่เรียกกันว่าตัวพิมพ์/ตัวเขียน ซึ่งก็มีลักษณะหน้าตาที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่ว่าในภาษาอังกฤษก็จะมีกฎการใช้งานตัวพิมพ์เล็ก-พิมพ์ใหญ่ ว่าตัวอักษรแบบไหนจะใช้กับสถานการณ์แบบไหน และในวันนี้เราจะมาดูในเรื่องหลักการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า “Capitalization” (จากคำว่า “capital” letters ที่แปลว่าตัวอักษรพิมพ์ใหญ่) ในการเขียนภาษาอังกฤษ คำบางคำจะต้องมีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่นำหน้า และการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่อย่างถูกต้องหรือถูกตำแหน่งจะทำให้เราเป็นนักเขียนที่ดีได้ นี่ถือเป็นเรื่องพื้นฐานเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม แล้วตัวอักษรพิมพ์ใหญ่จะใช้กับอะไรบ้างล่ะ? –คำแรกหรือคำขึ้นต้นประโยค เช่น Where are you going? (คุณกำลังจะไปไหน?), My name is Tiffany. (ฉันชื่อทิฟฟานี่), Thailand is the land of smile. (ประเทศไทยคือดินแดนแห่งรอยยิ้ม) –ชื่อเฉพาะของสถานที่ คน…